การดูผีเสื้อ เป็นกิจกรรมที่จะเพิ่งเริ่มต้นขึ้นในเมืองไทยได้ไม่นาน แต่ก็เป็นกิจกรรมที่กำลังแพร่หลายอย่างรวดเร็วในหมู่นักนิยมธรรมชาติ เป็นกิจกรรมที่ให้ความเพลิดเพลินและเป็นการพักผ่อนที่มีคุณค่า เพราะความน่าหลงใหลในความงามแห่งปีกผีเสื้อนั้นก็มีมากกว่าสัตว์อื่นๆ บางครั้งสามารถพบผีเสื้อหลายชนิดรวมกลุ่มกันเป็นฝูงใหญ่นับร้อยตัว ในขณะที่ผีเสื้อกำลังเกาะกินอาหารอยู่นิ่งๆ ก็สามารถเข้าไปดูผีเสื้อได้อย่างใกล้ชิด ได้ชื่นชมกับความสวยงามของแมลงตัวน้อยน่ารัก ได้สัมผัสกับธรรมชาติอันสวยงาม อากาศบริสุทธิ์ และการเดินดูผีเสื้อเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับบุคคลทุกวัยอีกด้วย ในการดูผีเสื้อแทบจะไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรมาก แต่หากจะให้ดีแล้วควรมีอุปกรณ์ต่อไปนี้เพราะจะเพิ่มรสชาดในการดูผีเสื้อมากขึ้น
อุปกรณ์ในการดูผีเสื้อ
แว่นขยาย
ขนาดไม่จำกัด ในปัจจุปันมีแว่นขยาย
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-5 นิ้ว จำหน่ายในราคาไม่แพงนัก สามารถใช้งานได้ดี และถ้าหากเราใช้แว่นขยายขนาดที่มีใหญ่ขึ้น
และคุณภาพที่ดีขึ้น
ย่อมจะเพิ่มสุนทรีย์ในการดูผีเสื้อยิ่งขึ้น ควรเลือกชนิดที่มีด้านจับ
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-10 เซนติเมตร ขึ้นไป
กล้องส่องทางไกลชนิด 2
ตา
ในกรณีที่เราไม่สามารถเข้าใกล้ผีเสื้อได้ เช่น ผีเสื้อเกาะอยู่บนกิ่งไม้สูง
เป็นต้น
กล้องสองตาจะช่วยให้เราได้เห็นความงดงามของเม็ดสีและลวดลายบนปีกของผีเสื้อ
ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ขนาดของกล้องที่แนะนำคือขนาด
7x35
ซึ่งสามารถมองเห็นผีเสื้อในระยะใกล้ประมาณ 1-1.5
เมตรได้ชัดเจน ไม่แนะนำกล้องสองตาที่มีอัตราขยายสูงกว่านี้ เพราะจะต้องอยู่ห่างจากผีเสื้อมากขึ้น จึงจะมองเห็นผีเสื้อได้ชัดเจน แต่จะมองเห็นผีเสื้อตัวเล็กลง
คู่มือดูผีเสื้อ
เป็นหนังสือที่ให้รายละเอียดและภาพประกอบของผีเสื้อแต่ละชนิด
ช่วยให้จำแนกชนิดของผีเสื้อได้ถูกต้อง หาซื้อได้ตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป
กล้องถ่ายรูป
ไม่จำเป็นจะต้องเป็นกล้องถ่ายรูปที่มีราคาแพงก็สามารถถ่ายรูปผีเสื้อได้ กล้อง Compact ขนาด 6-7
ล้านพิกเซล ราคาประมาณห้าพันบาท ก็สามารถถ่ายรูปผีเสื้อได้ดี
การถ่ายรูปทำให้เราสามารถเก็บเอาสิ่งที่สวยงามกลับไป โดยที่ไม่ได้ทำลายธรรมชาติ โดยเฉพาะในปัจจุปัน เป็นกล้องดิจิตอล เมื่อนำต่อเข้าไปชมภาพจากคอมพิวเตอร์ จะเห็นรายละเอียดของภาพได้มากกว่ามองด้วยตาเปล่า
ยิ่งเพิ่มความงดงามได้มากขึ้น
สมุดบันทึก เพื่อบันทึกข้อมูล รายละเอียดเกี่ยวกับผีเสื้อที่พบ เช่น จำนวน
ชนิดของผีเสื้อ วัน เวลา ฤดูกาล
สถานที่พบ ลักษณะเด่น ขนาด สีสัน และลวดลายของปีก พฤติกรรม ฯลฯ ตลอดจนสามารถวาดรูปผีเสื้อที่พบได้ด้วย
การเตรียมตัวไปดูผีเสื้อ
การเตรียมตัวที่ดีจะช่วยให้พบเห็นผีเสื้อได้ง่ายขึ้น
เมื่อออกไปดูผีเสื้อควรเลือกใส่เสื้อผ้าที่มาสีสันกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เช่น
สีเขียว เทา หรือน้ำตาล ซึ่งจะไม่ทำให้ผีเสื้อตื่นกลัวหรือสังเกตเห็นได้ง่าย
ทำให้มีโอกาสเข้าใกล้ผีเสื้อได้มากขึ้น เสื้อผ้าควรมีแขนขายาว
ไม่ควรสวมกางเกงขาสั้นหรือกระโปรง เพราะอาจถูกใบหญ้าบาดและหนามขีดข่วน หรือ
อาจระคายเคืองผิวหนัง ควรสวมหมวก
เพื่อกันแดดด้วย และอาจทายากันแดดด้วย
เพราะการดูผีเสื้อต้องอยู่กลางแดดเป็นส่วนใหญ่ เพื่อป้องกันแสงแดด
รองเท้าควรเป็นชนิดที่กระชับใส่สบาย
อย่าลืมสวมถุงเท้าเพื่อป้องกันการเสียดสีจากการเดิน
ถ้าไปดูผีเสื้อบนเขาสูงควรเตรียมเสื้อกันหนาวไปด้วย ถ้าเป็นหน้าฝน
เสื้อกันฝนก็เป็นสิ่งที่ขาดมิได้
ช่วงเวลาในการดูผีเสื้อ การดูผีเสื้อสามารถดูได้ตลอดทั้งวัน
เพราะผีเสื้อแต่ละชนิดมีช่วงเวลาการออกหากินแตกต่างกัน
แต่ที่เหมาะสมที่สุดคือช่วงเช้า เพราะเป็นเวลาที่ผีเสื้อจะเกาะนิ่งตามใบไม้
เพื่อผึ่งแดดให้ร่างกายและปีกอบอุ่นแข็งแรงก่อนที่จะออกหากิน
นักดูผีเสื้อจึงสามารถสังเกตผีเสื้อได้อย่างใกล้ชิด
หลังจากที่ผีเสื้อออกบินหากินแล้ว
ส่วนใหญ่จะบินเร็วและค่อนข้างขี้ตื่นจึงสังเกตได้ยาก
นอกจากจะพบผีเสื้อที่กำลังเกาะกินอาหารอยู่นิ่งๆ โดยเฉพาะตามพุ่มดอกไม้ริมทาง
พื้นดินแฉะหรือดินทรายริมลำธารรวมทั้งบริเวณแหล่งอาหารใหญ่
ก็จะพบผีเสื้อรวมกันอยู่เป็นฝูงใหญ่นับร้อยตัว
นับเป็นโอกาสที่ดีมากสำหรับการดูผีเสื้อ
โดยทั่วไปแม้ว่าผีเสื้อจะบินเร็วไม่ยอมเกาะนิ่ง หรือไม่ยอมให้เข้าใกล้
ผู้สนใจก็ต้องอดทนรอจังหวะและโอกาสเพราะหากผีเสื้อไม่ตกใจบินหนีไปไกลๆ
ก็มักพบมันได้อีกในบริเวณใกล้เคียง ในวันอากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝน
อากาศหนาวหรือมีความชื้นสูง ผีเสื้อส่วนใหญ่มักไม่ออกหากิน
ให้ลองสังเกตผีเสื้อที่เกาะพักอยู่ตามใบไม้หรือต้นไม้
ผีเสื้อสามารถพบเห็นได้ทุกหนแห่งทั่วประเทศ
นอกจากสวนไม้ดอกและท้องทุ่งใกล้บ้านแล้ว ผืนป่าตามอุทยานแห่งชาติต่างๆ
ล้วนมีผีเสื้ออาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยมีแหล่งดูผีเสื้อที่น่าสนใจ เช่น
อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง
อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล อุทยานแห่งชาติเอราวัณ อุทยานแห่งชาติแม่วะ
และอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น